คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประกาศปฏิวัติการศึกษาด้านการจัดการและธุรกิจเต็มรูปแบบ หลังผลจัดอันดับ IMD World Competitiveness 2024 เผยระบบการศึกษาการจัดการไทย ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ ตกลงไป 13 อันดับ ลดลงจากลำดับที่ 19 เป็น 32 สาเหตุมาจาก การขาดประสบการณ์ตรงของอาจารย์ในภาคธุรกิจและการวิจัยที่ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาจริงของตลาดประเทศไทยมมี ระบุ SMEs ถือเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันมีจำนวน 3.2 ล้านราย คิดเป็น 99.5% ของสถานประกอบการทั้งหมด การจ้างงาน ราว 12.8 ล้านคน หรือเฉลี่ย 4 คนต่อธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 38.5% ของ GDP และมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 14% เดินหน้าสร้าง เจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ ที่พร้อมรับมือกับความท้าทายของ เศรษฐกิจดิจิทัล และช่วย ผู้ประกอบการพ้น “กับดัก SMEs ไทย”
ผศ.ดร.เกรียงไกร สัจจะหฤทัย คณบดีคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ เปิดเผยว่า จากรายงาน IMD World Competitiveness Ranking 2024 พบว่าแม้ประเทศไทยจะมีความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ แต่ระบบการศึกษาการจัดการไทย ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ ตกลงไป 13 อันดับ ลดลงจากลำดับที่ 19 เป็น 32 จากการประสบปัญหาที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่
1. อาจารย์ขาดประสบการณ์จริง การสอนในห้องเรียนยังขาดการเชื่อมโยงกับโลกธุรกิจจริง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง
2. งานวิจัยไม่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจ เน้นตีพิมพ์ผลงานวิชาการมากกว่าการวิจัยที่สามารถนำไปปรับใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดจริง
3. ความยั่งยืนเป็นเพียงรูปโฉม หลักสูตรในหลายสถาบันมักพูดถึงแนวคิดความยั่งยืนเพียงแค่ในระดับการตลาด ไม่ได้บูรณาการอย่างแท้จริงในกระบวนการเรียนการสอน
4. ขาดการสอนนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ หลักสูตรยังไม่มีการบูรณาการแนวคิดอย่าง Design Thinking และ Creative Thinking ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
5. ล้าหลังด้านเทคโนโลยีและ AI ขาดผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และ AI ทำให้หลักสูตรไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ
นอกจากการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ เจ้าของธุรกิจไทยยังต้องเผชิญกับ “กับดัก” มากมาย โดยเฉพาะ ขาดทักษะนวัตกรรมและการเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งขัดขวางการเติบโตของธุรกิจ โดยพบว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก ปัจจุบันจำนวนมากถึง 3.2 ล้านราย คิดเป็น 99.5% ของสถานประกอบการทั้งหมด และมีการจ้างงานรวมประมาณ 12.8 ล้านคน หรือเฉลี่ย 4 คนต่อกิจการ ในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (Value Added) SMEs มีสัดส่วนประมาณ 38.5% ของ GDP ประเทศไทย และมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกประมาณ 14% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ตามโครงสร้าง GDP ของ SMEs ในปี 2566 จำแนกตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ พบว่า ภาคการบริการมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคการผลิต และภาคการค้าปลีกและค้าส่ง
สำหรับตัวอย่างจากต่างประเทศ ฮ่องกงมีการส่งเสริม SMEs ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดงานแสดงสินค้า SME Market Day เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของ SMEs จากข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า SMEs มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีส่วนร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม การจ้างงาน และการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งการที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถไต่อันดับได้ดีขึ้น และสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ตอบโจทย์โลกธุรกิจยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องปรับรูปแบบการศึกษาด้านการจัดการและสนับสนุนเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ ให้มีศักยภาพเข้าไปเพิ่มกำลังสำคัญในการขับเคลื่อประเทศไทยมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง โดยคณะได้วางกลยุทธ์ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายที่อย่างครอบคลุม ด้วย 5 แนวทางหลัก ได้แก่
1. ดึงผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของธุรกิจจริงมาสอนและเป็นโค้ชปรับกระบวนการคัดเลือกอาจารย์โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ตรงในภาคธุรกิจ พร้อมเชิญเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารระดับแนวหน้ามาแบ่งปันประสบการณ์ในทุกรายวิชา
2. วิจัยตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ลงนามความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ สร้างงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ
3. บูรณาการความยั่งยืนในหลักสูตร ปรับปรุงหลักสูตรโดยเพิ่มวิชาที่เน้นการจัดการธุรกิจสีเขียว (Green Business Management) และโครงการปฏิบัติจริง
4. พัฒนาทักษะนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์
เปิดศูนย์ Innovation Hub เพื่อฝึกใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเพิ่มหลักสูตรที่เน้นการคิดนอกกรอบผ่านการสอน Design Thinking และ Creative Thinking
5. เสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีและ AI
จับมือกับบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีและ AI เพื่อเปิดโครงการ “AI for Business” แห่งแรกโดยมุ่งเสริมทักษะให้กับนักศึกษาทุกคนในคณะเรียนและใช้จริงตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 พร้อมประยุกต์ใช้ในมิติ
6. สร้างนักศึกษาให้เป็นนักแก้ปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ท่องจำทฤษฎี คณะ คือพื้นที่ปลอดภัยให้นักศึกษาได้ลองผิดลองถูกโดยมีโค้ชดูแลอย่างใกล้ชิด ลงมือทำธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น สร้างเจ้าของธุรกิจที่มีศักยภาพและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและ AI